วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ LDCA Model สาระทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านเชียงราย) จังหวัดลำปาง

หัวข้อ   การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ LDCA Model สาระทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านเชียงราย) จังหวัดลำปาง
ผู้วิจัย :     นายณภัทร  จิณานุกูล
ปี           2557

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ  1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ LDCA Model สาระทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้และด้านทักษะกระบวนการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ LDCA Model สาระทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นก่อนเรียนและหลังเรียน  และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ LDCA Model สาระทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา  ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3  โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านเชียงราย) จังหวัดลำปาง ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2557  จำนวน 1 ห้องเรียน รวมจำนวน 42 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่มห้องเรียน  ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับสลาก  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์  คือ  ความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ คะแนนที
ผลการวิจัยพบว่า  รูปแบบการจัดการเรียนรู้ LDCA Model หรือรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ สาระทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พัฒนาตามหลักการและแนวคิด การออกแบบรูปแบบการเรียนการสอน ADDIE Model ของเควิน ครูส (Kevin Kruse 2008 : 1) ร่วมกับกรอบวิจัยและพัฒนา (Research and Development) วงจรคุณภาพ (PDCA) (Deming in Mycoted 2004)  หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับการสอนศิลปะ การพัฒนากระบวนการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของนักการศึกษาและนักวิชาการที่หลากหลาย โดยพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการเชิงระบบ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R1) ขั้นศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) : การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้  ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Debelopment : D1)  ขั้นการออกแบบและพัฒนา (Design and Development : D and D) : การพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้  ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) ขั้นการทดลองใช้ (Implementation : I) : การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้  และ ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Debelopment : D2ขั้นการประเมินผล (Evaluation : E) : การประเมินและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ที่พัฒนาขึ้น 7  องค์ประกอบ  ดังนี้  หลักการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้  วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้  รูปแบบการจัดการเรียนรู้ LDCA Model  สาระหลักเป็นส่วนประกอบที่ต้องจัดให้กับผู้เรียน  ระบบสังคม  หลักการตอบสนอง  สิ่งสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบ หรือระบบสนับสนุน
ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ LDCA Model สาระทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ .05  เป็นไปตามสมมุติฐาน
ผลการเปรียบเทียบการพัฒนากระบวนการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ ของนักเรียนก่อนและหลังการใช้ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ LDCA Model สาระทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านเชียงราย) เทศบาลนครลำปาง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมี นัยสำคัญที่ .05  เป็นไปตามสมมุติฐาน

ผลการศึกษาความพึงพอใจหลังการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ LDCA Model สาระทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น คะแนนเต็ม  5.00  คะแนน  ได้คะแนนเฉลี่ย  4.21  คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  83.16  มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  2.35  การแปลผล มีความพึงพอใจในระดับ  มาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น