วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558

การพัฒนารูปแบบการประเมินแบบรู้คุณค่า เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านเชียงราย) จังหวัดลำปาง

หัวข้อ      การพัฒนารูปแบบการประเมินแบบรู้คุณค่า เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านเชียงราย) จังหวัดลำปาง
ผู้วิจัย :     นายณภัทร  จิณานุกูล
ปี           2557

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ  1) พัฒนารูปแบบการประเมินแบบรู้คุณค่า  2)  เพื่อทดลองใช้รูปแบบการประเมินแบบรู้คุณค่า  3)  ประเมินรูปแบบการประเมินแบบรู้คุณค่า
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา  ได้แก่  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา  ได้แก่  ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครลำปาง จำนวน  14  คน (เอาทุกคน)  และครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครลำปาง  ปีการศึกษา 2557  จำนวน  145  คน  รวมทั้งสิ้น  159  คน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์  คือ  ความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ คะแนนที

ผลการวิจัยพบว่า  ผลการพัฒนารูปแบบการประเมินแบบรู้คุณค่า  มีประเด็นในการประเมิน  4  ประเด็น  ดังนี้  ประเด็นที่  1    องค์ประกอบศิลป์  ประเด็นที่  2    การปฏิบัติตามขั้นตอน  ประเด็นที่  3    ความคิดสร้างสรรค์  ประเด็นที่  4    วิธีการนำเสนอ  ผลการทดลองใช้รูปแบบการประเมินแบบรู้คุณค่า  ทำการทดลองใช้โดยนำไปใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  โดยทำการประเมิน  3  ด้าน  ได้แก่  ตนเองประเมิน  เพื่อนประเมิน  และครูผู้สอนประเมิน  ผลการทดลองใช้พบว่า  นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะสูงขึ้น  ผลการประเมินรูปแบบการประเมินแบบรู้คุณค่า  มีค่าเฉลี่ย  3.90 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  0.31

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ LDCA Model สาระทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านเชียงราย) จังหวัดลำปาง

หัวข้อ   การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ LDCA Model สาระทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านเชียงราย) จังหวัดลำปาง
ผู้วิจัย :     นายณภัทร  จิณานุกูล
ปี           2557

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ  1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ LDCA Model สาระทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้และด้านทักษะกระบวนการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ LDCA Model สาระทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นก่อนเรียนและหลังเรียน  และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ LDCA Model สาระทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา  ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3  โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านเชียงราย) จังหวัดลำปาง ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2557  จำนวน 1 ห้องเรียน รวมจำนวน 42 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่มห้องเรียน  ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับสลาก  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์  คือ  ความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ คะแนนที
ผลการวิจัยพบว่า  รูปแบบการจัดการเรียนรู้ LDCA Model หรือรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ สาระทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พัฒนาตามหลักการและแนวคิด การออกแบบรูปแบบการเรียนการสอน ADDIE Model ของเควิน ครูส (Kevin Kruse 2008 : 1) ร่วมกับกรอบวิจัยและพัฒนา (Research and Development) วงจรคุณภาพ (PDCA) (Deming in Mycoted 2004)  หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับการสอนศิลปะ การพัฒนากระบวนการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของนักการศึกษาและนักวิชาการที่หลากหลาย โดยพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการเชิงระบบ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R1) ขั้นศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) : การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้  ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Debelopment : D1)  ขั้นการออกแบบและพัฒนา (Design and Development : D and D) : การพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้  ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) ขั้นการทดลองใช้ (Implementation : I) : การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้  และ ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Debelopment : D2ขั้นการประเมินผล (Evaluation : E) : การประเมินและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ที่พัฒนาขึ้น 7  องค์ประกอบ  ดังนี้  หลักการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้  วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้  รูปแบบการจัดการเรียนรู้ LDCA Model  สาระหลักเป็นส่วนประกอบที่ต้องจัดให้กับผู้เรียน  ระบบสังคม  หลักการตอบสนอง  สิ่งสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบ หรือระบบสนับสนุน
ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ LDCA Model สาระทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ .05  เป็นไปตามสมมุติฐาน
ผลการเปรียบเทียบการพัฒนากระบวนการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ ของนักเรียนก่อนและหลังการใช้ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ LDCA Model สาระทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านเชียงราย) เทศบาลนครลำปาง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมี นัยสำคัญที่ .05  เป็นไปตามสมมุติฐาน

ผลการศึกษาความพึงพอใจหลังการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ LDCA Model สาระทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น คะแนนเต็ม  5.00  คะแนน  ได้คะแนนเฉลี่ย  4.21  คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  83.16  มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  2.35  การแปลผล มีความพึงพอใจในระดับ  มาก