วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558

การพัฒนารูปแบบการประเมินแบบรู้คุณค่า เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านเชียงราย) จังหวัดลำปาง

หัวข้อ      การพัฒนารูปแบบการประเมินแบบรู้คุณค่า เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านเชียงราย) จังหวัดลำปาง
ผู้วิจัย :     นายณภัทร  จิณานุกูล
ปี           2557

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ  1) พัฒนารูปแบบการประเมินแบบรู้คุณค่า  2)  เพื่อทดลองใช้รูปแบบการประเมินแบบรู้คุณค่า  3)  ประเมินรูปแบบการประเมินแบบรู้คุณค่า
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา  ได้แก่  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา  ได้แก่  ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครลำปาง จำนวน  14  คน (เอาทุกคน)  และครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครลำปาง  ปีการศึกษา 2557  จำนวน  145  คน  รวมทั้งสิ้น  159  คน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์  คือ  ความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ คะแนนที

ผลการวิจัยพบว่า  ผลการพัฒนารูปแบบการประเมินแบบรู้คุณค่า  มีประเด็นในการประเมิน  4  ประเด็น  ดังนี้  ประเด็นที่  1    องค์ประกอบศิลป์  ประเด็นที่  2    การปฏิบัติตามขั้นตอน  ประเด็นที่  3    ความคิดสร้างสรรค์  ประเด็นที่  4    วิธีการนำเสนอ  ผลการทดลองใช้รูปแบบการประเมินแบบรู้คุณค่า  ทำการทดลองใช้โดยนำไปใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  โดยทำการประเมิน  3  ด้าน  ได้แก่  ตนเองประเมิน  เพื่อนประเมิน  และครูผู้สอนประเมิน  ผลการทดลองใช้พบว่า  นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะสูงขึ้น  ผลการประเมินรูปแบบการประเมินแบบรู้คุณค่า  มีค่าเฉลี่ย  3.90 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  0.31

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น